วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

คำบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดทำวัตรเช้า)



คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน; (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว;
ธัมมัง นะมัสสามิ.
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม; (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว;
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)
-----------------------
ปุพพภาคะนมะการะ
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.

(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น;
อะระหะโตซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น;
อะระหะโตซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น;
อะระหะโตซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.


-----------------------

พุทธาภิถุติ
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.

(รับ) โย โส ตะถาคะโตพระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด;
อะระหังเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธเป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโนเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโตเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทูเป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานังเป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรร
ภะคะวาเป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์


โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัห๎มะกัง, สัสสะมะณะพราห๎มะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา, มาร, พรหม, และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม;

โย ธัมมัง เทเสสิ,พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว;
อาทิกัล๎ยาณังไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัล๎ยาณังไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัล๎ยาณังไพเราะในที่สุด


สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ,
ทรงประกาศพรหมจรรย์, คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ;
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น;
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า;
(กราบระลึกถึงพระพุทธคุณ)
-----------------------

ธัมมาภิถุติ
(นำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.
(รับ) โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมนั้นใด เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ดีแล้ว;

สันทิฏฐิโกเป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโกเป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโกเป็นธรรมที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโกเป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิเป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า.


(กราบระลึกถึงพระธรรมคุณ)
-----------------------

สังฆาภิถุติ
(นำ) หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.
(รับ) โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว;
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว;
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว;
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว;

ยะทิทังได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลาคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆนั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโยเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโยเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโยเป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโยเป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะเป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.



(กราบระลึกถึงพระสังฆคุณ)
-----------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น